ยา พลาสเตอร์ยา แผงยา ซองยาอลูมิเนียม ทิ้งอย่างไร
ทำความรู้จักแผงยา และซองยา
ยาที่หมดอายุแล้วจัดเป็นสารเคมีอันตราย หากทิ้งไม่ถูกวิธี เช่น ยาฆ่าเชื้อ ถ้าทิ้งปะปนกับขยะทั่วไปก็อาจทำให้เกิดเชื้อดื้อยาได้
วิธีกำจัดที่ดีที่สุด คือ การเผาในระบบปิด
ดังนั้น
ขอแบ่งยา ออกเป็น 2 ประเภท คือ
- ยาที่ยังไม่หมดอายุ
- ยาที่หมดอายุแล้ว
ยาที่ยังไม่หมดอายุ : ยาที่สามารถส่งต่อได้
สามารถส่งต่อให้กับโรงพยาบาลห่างไกล เช่น โรงพยาบาลอุ้มผาง หรือสอบถามร้านยาใกล้บ้าน
มีเงื่อนไขการส่งต่อ ดังนี้
- ยาทุกประเภท ที่ยังไม่หมดอายุ และมีอายุอย่างน้อย 6 เดือน
- ยาต้องอยู่ในแผง หรือฟรอยด์ ที่ปิดสนิทเท่านั้น
- ยารักษาโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดัน ต้องมีวันหมดอายุมากกว่า 1 ปี
- ยาแก้แพ้ แก้หวัด ยารักษาตามอาการ
- ไม่รับยาทา ยาหยอด ยาน้ำ ที่เปิดใช้งานแล้ว
- ไม่รับยาหมดอายุ
- ไม่รับยาแช่เย็น
- ไม่รับยาเฉพาะโรค เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด ยาไทรอยด์ ยาโรคหัวใจ
ยาที่หมดอายุแล้ว
N15 Technology รับนะ แต่…….
มีเงื่อนไขการทิ้ง ดังนี้
- ยาหรืออาหารเสริมที่หมดอายุในรูปแบบยาเม็ด และยาผงเท่านั้น
- แผง หรือซองเปล่าก็รับ
- ไม่รับยาน้ำ
- ยาครีม หากอยู่ในหลอดพลาสติกส่งได้แต่ต้องบีบยาออกก่อน
- ไม่รับ ยาครีม ในหลอดอลูมิเนียม (สามารถบีบยาครีมออกแล้วนำอลูมิเนียมไปขายคุณซาเล้ง)
- รับพลาสเตอร์ยา หรือแผนแปะแก้ปวดหลัง
ส่งไหนดี
โรงพยาบาลอุ้มผาง :
รับยาที่ยังไม่หมดอายุ และคัดแยกอย่างดีแล้ว
เขียนให้ชัดเจนว่า “ยาดี”
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอุ้มผาง (ยาบริจาค)
เลขที่ 159 หมู่ 1 ต.อุ้มผาง อ.อุ้มผาง
จ.ตาก 63170
โทร. 061-271-7201
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร :
สำหรับยายังไม่หมดอายุ จะถูกคัดแยกประเภทยาก่อนส่งต่อ
เขียนให้ชัดเจนว่า “ยาดี”
อ.ดำรงค์ศักดิ์ เป๊กทอง (ยาเหลือใช้)
คณะเภสัชศาสตร์ ม.นเรศวร
99 ม.9 ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง
จ.พิษณุโลก 65000
โทร. 063 -715 -1832
N15 Technology :
รับยาที่หมดอายุแล้วส่งตามเงื่อนไขด้านบน
ขอบคุณจากหัวใจ
- เขียนและเรียบเรียงโดย wasteorshare.com
- ยาเหลือใช้ มีอันตรายมากกว่าที่คิด, เพจ Phitsanulok Hotnews
- ฯลฯ