ชิ้นนี้ รีไซเคิลได้ไหม

ชิ้นนี้ รีไซเคิลได้ไหม

ขยะแบบไหน รีไซเคิลได้

{ ลุงซาเล้งฯ กล่าวเอาไว้ เรารวบรวมมาแชร์ต่อนะ }

มาดู 4 ปัจจัย ขยะไหนรีไซเคิลได้ สไตล์ลุงซาเล้งกันจ้า

เวลาตอบคำถามลุงใช้ ‘กฎประมาณ’ มาพิจารณาว่า ของชิ้นนั้นๆ รีไซเคิลได้หรือไม่

ชิ้นนี้รีไซเคิลได้ไหม มีหลักการอย่างไร

มีคนหลังไมค์มาถามลุงบ่อยว่า อันนี้อันนั้นรีไซเคิลได้ไหม ลุงก็ตอบตามประสบการณ์ของตัวเองไป

เลยมานั่งคิดๆ ว่าเวลาที่ลุงตอบเนี้ย ลุงใช้หลักเกณฑ์อะไรบ้างในการพิจารณาว่า ของชิ้นนั้นๆ รีไซเคิลได้หรือไม่ ขายได้หรือไม่

คิดไปคิดมา ตั้งเป็นกฎได้ประมาณได้ประมาณนี้ (ห้ามอ้างอิงเพราะมั่ว)

วัสดุเดียวกันทั้งชิ้น

ลุงจะดูว่าของชิ้นนั้น ประกอบส่วนวัสดุอะไรบ้าง ถ้าใช้วัสดุชนิดเดียวทั้งชิ้น ก็มีสิทธิ์รีไซเคิลได้มากขึ้น แต่ถ้าไม่ใช่ก็ต้องดูว่ากระบวนการในการแยกวัสดุออกจากกันง่ายหรือยาก อย่างเช่น ฟิลม์ปิดฝาชาไข่มุก จะแยกออกจากตัวแก้วยากมากต้องใช้กรรไกรตัดอย่างเดียว อันนี้ก็เริ่มไม่คุ้มแล้ว

ปนเปื้อนน้อย หรือไม่ปนเปื้อนเลย

ดูความปนเปื้อนของมัน ส่วนใหญ่แล้วขยะรีไซเคิลไม่ได้เน้นสะอาดมากหรอก แค่อย่าเยอะเกินก็พอ แต่ก็ขึ้นอยู่กับโรงงานรีไซเคิลด้วย บางอย่างมันปนได้นิดเดียวจริงๆ เช่น โรงหลอมขวดแก้ว เค้าจะไม่เอากระจกเลยเพราะคนละเนื้อกัน หลอมออกมาแล้วแก้วจะเสียเป็นตำหนิได้

ของชิ้นเล็กมากๆ สะสมไว้ก่อน

ของที่ชิ้นเล็กมากๆ อย่าพึ่งรีบนำไปรีไซเคิล จะต้องรวบรวมสะสมให้ได้ปริมาณก่อน ไม่งั้นหายชัวร์

ขายแล้วคุ้ม และขายง่าย

ข้อสุดท้ายแต่สำคัญที่สุดคือเรื่องราคา การที่วัสดุแต่ละชนิดจะสามารถรีไซเคิลได้หรือไม่ อยู่ที่ราคาขาย ถ้าขายได้ต่ำเกินไป ลำพังค่าน้ำมันค่าแรง ก็ไม่คุ้มละ ลุงก็ต้องมากดราคาซื้อ (แล้วกดได้ซะที่ไหน) ของบางอย่างที่มันขายยากๆ หรือราคาถูกๆ ก็จะถูกปฏิเสธไป

ขอบคุณจากหัวใจ

Recycle