ฝาจีบ

ฝาจีบ

ฝาจีบรีไซเคิลได้ไหม

ฝาจีบ รีไซเคิลได้ไหม

ฝาจีบ รีไซเคิลได้ไหม แล้วถ้าจะขายซาเล้งรับซื้อหรือเปล่า และจะต้องแกะแผ่นรองฝาที่เป็นพลาสติกออกก่อนไหม เพราะมันติดแน่นมากแกะไม่ได้?

จะรีไซเคิล ต้องแกะพลาสติกออกไหม

มันรีไซเคิลได้จ้า ซาเล้งซื้อราคาเดียวกับกระป๋องเหล็ก และไม่จำเป็นต้องแกะพลาสติกออก (เพราะแกะยังไงก็ไม่ออกหรอก) วิธีการการตามรูปเลยคือเก็บรวบรวมใส่กระป๋องเอาไว้ เต็มก็ขายพร้อมกับกระป๋องนั่นแหละ (จะเก็บเหล็กชิ้นเล็กๆไปด้วยก็ได้)

อาจจะงงว่า ลุงเคยบอกว่า วัสดุที่ไม่ใช่เป็น mono material แล้วแยกยาก มันรีไซเคิลไม่ได้ไม่ใช่เหรอ แล้วทำไมฝาจีบซึ่งเป็นเหล็กติดกับพลาสติกแน่นขนาดนี้ ยังรีไซเคิลได้ คำตอบคือ มันอยู่ที่กระบวนรีไซเคิล ซึ่งเผอิญยังเอื้อต่อการรีไซเคิลอยู่

ทำไมรีไซเคิลได้

การรีไซเคิลเศษเหล็กจะใช้การหลอมที่อุณหภูมิสูงมากประมาณ 1400 องศา เพื่อให้ได้น้ำเหล็ก ดังนั้นสิ่งปนเปื้อนอื่นๆ จะถูกเผาไหม้จนเกลี้ยง กลายเป็นแก๊ส หรือกลายเป็นขี้เถ้า

สิ่งปนเปื้อนที่เป็นแก๊สไม่มีปัญหาต่อการรีไซเคิลเพราะจะลอยไป ส่วนขี้เถ้า ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคาร์บอน สามารถผสมอยู่ในเนื้อเหล็กได้ปริมาณนึง และสามารถกำจัดออกได้โดยการเติมออกซิเจนให้กลายเป็น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ดังนั้นประเด็นไม่ได้อยู่ที่ทำได้หรือไม่แต่อยู่ที่ปนเปื้อนมากแค่ไหน (แต่ในแง่มลพิษจากการหลอมพลาสติกน่าจะยังคงมีนะ : admin ใส่เอง)

โดยปกติแล้ว การรีไซเคิลเศษเหล็ก จะมี yield หรือ สัดส่วนของเนื้อเหล็กที่ได้ 90% ขึ้นไป กล่าวคือ เอาเศษเหล็กเข้าไปหลอม 100 กิโล จะได้เหล็กแท่งสำเร็จรูป 90 กิโลกว่าๆ

แต่เจ้าฝาจีบ ซึ่งมีพลาสติกติดอยู่เป็นชิ้นๆ ไม่รวมสีที่ติดอยู่อีกฝาก yield ของมันจะอยู่ที่ 70 กว่า% เท่านั้น ซึ่งเท่ากับ yield ของการรีไซเคิลกระป๋องเหล็ก ที่มีสิ่งปนเปื้อนมาก เช่น ฝาอลูมิเนียม สี รวมถึงโลหะสังกะสี และ ดีบุกที่เคลือบอยู่ ทำให้ราคาของมันต่ำกว่าเศษเหล็กทั่วไป เค้าจึงนำสองสิ่งนี้ขายรวมกันได้

รับซื้อทุกร้านไหม

แต่ขึ้นชื่อว่า สิ่งปนเปื้อนก็คือปนเปื้อน ไม่มีก็ดีกว่า บางครั้งโรงงานเห็นฝาจีบแบบนี้ก็อาจจะบอกว่า ไม่เอาๆ ได้เช่นกัน ดังนั้น ก็อาจจะมีบางที่ไม่ซื้อไม่รับตัวนี้

ส่งไหนดี

ร้านรับซื้อกระป๋องเหล็ก

ส่วนใครอยากรู้ว่า ใกล้ๆ ตัวมีที่ไหนรับซื้อกระป๋องเหล็กบ้างโหลดแอพ Green2Get มาดูได้เลยจ้า >> http://onelink.to/gvkd5a

ขอบคุณจากหัวใจ

ขอบคุณเนื้อหาและรูปภาพจาก ลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป